พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 ตุลาคม พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Wednesday October 21, 2020 13:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 ตุลาคม พ.ศ.2563

ออกประกาศวันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 127/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจาก/ ประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ์าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. 63 เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. 63 อากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 ซ. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. 63 อากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงนี้อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 ซ. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้งานได้ตามปกติ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. 63 อากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. 63 อากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน และไม้ผล อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 26-27 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • มีฝนตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกท่วมขัง เกษตรกรไมควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ โดยเฉพาะชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยาง และโรคราเส้นดำ เป็นต้น

อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในการเดินเรือ

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2563 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร นครราชสีมา ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และระนอง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา ภูเก็ต และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ