พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 16 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 151/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 -19 ธ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ส่วนในช่วงวันที่ 20 -22 ธ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 16 - 22 ธ.ค. 63 อุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 17 - 20 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 22 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- สำหรับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนในช่วงฤดูหนาวอากาศจะจมตัว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะไม่สามารถลอยขึ้นสู่บรรยากาศได้สะดวกแต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียงทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนนและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 16 -19 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายหนาวเย็น และในบางช่วงจะมีลมแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจแผงกำบังลมหนาวให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ และเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 16 - 20 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21 -22 ธ.ค. 63 อากาศเย็น กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้เข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากระยะนี้อากาศแห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 16 - 20 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 22 ธ.ค. 63 มีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
- เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าว จะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
อนึ่ง บริเวณทะเลอ่าวไทย จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันที่ 9 - 15 ธันวาคม 2563 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี พังงา ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา