พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 4 - 8 มกราคม พ.ศ.2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 2/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4-7 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส มีหมอกในตอนเช้า และหมอกหนาบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวโดยทั่วไป สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส
คำเตือน ระยะนี้ประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนภาคใต้ตอนล่าง ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง เพิ่มความระมัดระวัง โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 4-8 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 6-9 ชั่วโมง
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในบางพื้นที่อาจมีหมอกและมีหมอกหนาได้ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชไร่ พืชสวน และไม้ดอก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 4-7 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค.อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และ อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับในบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาได้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 4-8 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 6-9 ชั่วโมง
- ระยะนี้มีหนอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4-8 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- มีหนอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำในมะม่วง โดยฉีดพ่นน้ำบริเวณทรงพุ่ม ใบ และช่อดอก ก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้ รวมทั้งระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างใน พืชไร่ พืชสวน และไม้ดอกไว้ด้วย นอกจากนี้ควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนทางตอนล่าง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ทางตอนบนของภาค อากาศเย็นเกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และผักต่างๆ ส่วนทางตอนล่างของภาค จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย
อนึ่ง บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง สำหรับเกษตรกรที่อยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดจากคลื่นลมแรงที่ชัดเข้าหาฝั่ง ไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2563 - 3 มกราคม 2564 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว โดยได้อ่อนกำลังลงในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวเย็นทั่วไปในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวทั่วไป กับมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ของจังหวัดตากในวันที่ 2 ม.ค. สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแพร่และลำพูนในวันที่ 29 ธ.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน และลำปางในวันที่ 28-29 ธ.ค. และบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 29 ธ.ค.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวทั่วไป กับมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ของจังหวัดนครพนมในวันที่ 1 และ 2 ม.ค. สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด
ภาคกลาง มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่
พื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบาง
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-40 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 ธ.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และภูเก็ต โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 107.6 มิลลิเมตร ที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา