พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 มกราคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Wednesday January 13, 2021 16:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 มกราคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 6/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14-16 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าว/ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 ม.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 6-9 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป์องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ นอกจากนี้ควรระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14-16 ม.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 64 อากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-26 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 14-16 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป์องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังและป์องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เช่น หนอนกระทู้หอมในหอมแดง หนอนกระทู้ม้วนใบในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. 64 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 ม.ค. 64 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 6-9 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันแดดจัด ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมแปลงปลูกพืชหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม และใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัด นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. 64 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 ม.ค. 64 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันมีแดดจัด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในไม้ผล โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลไม่สมบูรณ์แคระแกร็น และด้อยคุณภาพได้ นอกจากนี้ควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-16 ม.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ์าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ตอนบนของภาค มีอากาศเย็นในตอนเช้าเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ส่วนทางตอนล่างของภาค ในช่วงที่ผ่านมามีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร หากน้ำลดระดับลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสวนและแหล่งน้ำให้กับมาใช้งานได้ตามปกติ รวมทั้งควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน และไม้ผลไว้ด้วย

อนึ่งในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง

ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6-12 มกราคม 2564 ในภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และยะลา โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 143.4 มิลลิเมตร ที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 6 มกวาคม 2564

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ