พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 - 28 มกราคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา ส่วนในวันที่ 25-28 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาวตลอดช่วง กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. ลมอ่อน ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีความชื้นสูงในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันหนอนกระทู้ผักในถั่วเหลือง นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยในช่วงที่มีอากาศแห้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาวตลอดช่วง กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ
ภาคกลาง
อากาศเย็นตลอดช่วง กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็น ทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง เกษตรกรควรให้ปริมาณอาหารแก่สัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืช ดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ภาคตะวันออก
อากาศเย็นตลอดช่วง กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 24-25 ม.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรระวังและป้องกันเพลี้ยไฟในมะม่วงหิมพานต์ นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-24 ม.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในวันที่ 25-28 ม.ค. มีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันด้วงแรดและด้วงงวงในมะพร้าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผลและพืชผัก
ระหว่างวันที่ 15 - 21 มกราคม 2564 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงในระยะต้นช่วง ต่อจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวจนถึงวันสุดท้ายของช่วง ส่งผลให้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงในระยะกลางช่วง ทำให้ในช่วงนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนส่วนมากในระยะกลางช่วง
ภาคเหนือ มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวทั่วไป กับมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ของจังหวัดตากในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 5 ของพื้นที่ในวันที่ 17-18 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ในจังหวัดนครพนมในวันที่ 19 ม.ค. สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปในวันแรกและระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคตะวันออก มีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันแรกและระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในวันแรกและระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันที่ 17 และ 21 ม.ค.
ช่วงที่ผ่านมาภาคใต้มีรายงานฝนตกหนักบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 36.2 มิลลิเมตร ที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา