พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
ออกประกาศวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 15/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม/ ประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลางตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คำเตือนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก สำหรับเกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. 64 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีแดดจัดในตอนกลางวัน ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. 64 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เนื่องจากการเผาจะส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยการมองเห็นแล้วยังเป็นมลพิษทางอากาศ และอาจลุกลามจนเป็นอัคคีภัยได้ ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- มีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีแดดจัดในตอนกลางวัน ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อชะลอการระเหยของน้ำ รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- มีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีแดดจัดในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ และไม้ผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-6 ก.พ. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-8 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3-6 ก.พ. 64 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ในตอนกลางวันมีแดดจัดทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาความชื้นในดิน สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 27 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณประเทศไทยไม่มีรายงานฝนตกหนักและฝนตกหนักมาก
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา