พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 มีนาคม พ.ศ.2564
ออกประกาศวันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 27/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม/ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มี.ค. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง
คำเตือนในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. 64 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มี.ค. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 6-8 ชั่วโมง
- ช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและเพลี้ยในพืชไร่และไม้ผลไว้ด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. 64 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 มี.ค. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง
- ช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย รวมทั้งควรแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรตลอดช่วงแล้ง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. 64 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 มี.ค. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. 64 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 มี.ค. 64 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % % ความยาวนานของแสงแดด 7-9 ชั่วโมง
- จากสภาวะอากาศที่มีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน จึงเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและเพลี้ยในพืชไร่ และไม้ผล โดยเฉพาะหนอนเจาะผลทุเรียน เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชดังกล่าวไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 6-8 ชั่วโมง
- ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย และสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งเกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เกษตร สำหรับเกษตรกรที่ปลูกเงาะ ซึ่งอยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคราแป้ง ซึ่งทำให้ติดผลได้น้อย อนึ่ง บริเวณอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2564 ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น และสระแก้ว
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา