พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 - 28 มีนาคม พ.ศ.2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 35/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน สำหรับในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. 64 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือนในวันที่ 22-24 มี.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. 64 มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และ- พืชผักต่างๆ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แกดีแลว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เนื่องจากในวันที่ 22 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได รวมทั้งควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไมผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. 64 มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. 64 มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 4-6 ชั่วโมง
- ในวันที่ 22 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว หลังจากนั้นมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไร ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวไว้ด้วย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. 64 มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง
- อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาด-ของศัตรูพืชจำพวกหนอน ดูแลบริเวณพื้นที่เพาะปลูกให้โล่งเตียน โดยไม่กองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยเฉพาะเปลือกและผลที่เน่าเสียร่วงหล่นไว้ภายในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด จนส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-6 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในบางแห่ง เกษตรกรควรระวัง- อันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้าเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 22-24 บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคกลางส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ทำให้มีฝนบางพื้นที่ในบางวัน
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปางและตากมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ในวันที่ 17, 18 และ 21 มี.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 17 มี.ค. และบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 21 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 และ 21 มี.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์และนครราชสีมาในวันที่ 17 มี.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมาในวันที่ 20 มี.ค. และบริเวณจังหวัดเลย บึงกาฬ อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีในวันที่ 21 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ในวันที่ 16, 17 และ 21 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 17 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในวันที่ 17 และ 21 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่
สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลย สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ลพบุรี กาญจนบุรี สระแก้ว และระยอง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา