พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง
ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 มี.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น บางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น
คำเตือน ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรระวังและป้องกันอันตรายจากสภาพอากาศร้อน ส่วนในวันที่ 27-30 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 25-26 และ 29-30 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10
ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่มีสาเหตุจากไวรัส เช่น โรคใบหงิกเหลืองและโรคใบด่างในมะเขือเทศ นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมและวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เช่น ดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือฉีดน้ำลงบนหลังคาโรงเรือน นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้
ทางด้านการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 25-26 และ 30 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงระยะติดผล-เก็บเกี่ยว สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันเพลี้ยในมังคุดและทุเรียน ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทาให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืช ดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2564 ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลยสกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้ว ระยอง ตราด และนราธิวาส
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา