พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 2 - 8 เมษายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 40/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ในขณะที่มีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่า โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป
ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้ลมตะวันออกพัดปกคลุมทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 3-8 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผักซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากทางตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ เกษตรกรไม่ควรเลี้ยงสัตว์ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า นอกจากนี้ควรดูแลหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนให้แก่สัตว์เลี้ยง
ภาคกลาง
มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรง ตลอดช่วง โดยมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก
ภาคตะวันออก
มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรง ตลอดช่วง โดยมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในวันที่ 2-3 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 1 เมษายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมส่วนมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเกือบตลอดช่วง กับมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะปลายช่วง นอกจากนี้มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 27-28 มี.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน โดยมีฝนและฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงหลายพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันในระยะปลายช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ภาคเหนือมีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรก ของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา ตาก และลำปางในวันที่ 26 มี.ค. บริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 26 และ 28 มี.ค. บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์วันที่ 27 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำพูนและแพร่ในวันที่ 26 มี.ค. บริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 28 และ 29 มี.ค. บริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 29 มี.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาคในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 28 มี.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลยและชัยภูมิในวันที่ 27 มี.ค. บริเวณจังหวัดสกลนครและหนองคายในวันที่ 28 มี.ค. บริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร ศรีสะเกษและนครราชสีมาในวันที่ 1 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 27-29 มี.ค บริเวณจังหวัดบึงกาฬและอุดรธานีในวันที่ 28 มี.ค. บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย นครราชสีมาและศรีสะเกษในวันที่ 29 มี.ค. บริเวณจังหวัดสกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น
ในวันที่ 30 มี.ค. ภาคกลางมีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วงกับมีฝนหนักบางแห่ง และมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 27-29 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 28 มี.ค. ภาคตะวันออกมีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสระแก้วและชลบุรีในวันที่ 31 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและมีฝนหนักมาก บางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 26 และ 30 มี.ค. มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน หนองคาย อุดรธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา