พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 42/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝน ฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนองและลมแรง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- เนื่องจากระยะที่ผ่านมามีฝนฟ้าคะนอง ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝน เกษตรกรควรลดความชื้นลงก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย สำหรับสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนองจนได้รับความเสียหาย เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันให้ลำต้นตั้งตรง หากมีบาดแผลควรตัดแต่งแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา สำหรับผลที่ร่วงหล่น เกษตรกรควรเก็บรวบรวมแล้วนำไปทำลาย โดยฝังให้ลึกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนโรคและศัตรูพืช แต่ไม่ควรเผาเพราะควันไฟจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.
- ในระยะที่ผ่านมาแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรชะลอไปก่อนรอจนมีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต สำหรับระยะนี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นในตอนกลางวันทำให้ปริมาณการระเหยของน้ำมากขึ้น เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- เนื่องจากฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หลังคาไม่รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ดังนั้นเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8 - 9 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- สำหรับทางตอนบนของภาคสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่และพืชผัก รวมทั้งระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนทางตอนล่างของภาคฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2564 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก บุรีรัมย์ นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี จันทบุรี และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา