พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 9 - 15 เมษายน พ.ศ.2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 43/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่/ จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงในขณะลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ฝั่งออกจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณบริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีลมตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมทำให้มีฝนเพิ่มมากขึ้น
คำเตือนในช่วงวันที่ 10-15 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวสวนผลไม้ ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผล หนอนเจาะขั้วผลลำไย เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง
- ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรที่ปลูกพริก ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของแมลงวันทอง โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก เก็บผลพริกที่ถูกแมลงวันทองเข้าทำลาย และร่วงหล่นในแปลงปลูกนำไปเผาทำลาย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 4-8 ชั่วโมง
- ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวไร่อ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอ ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนโดยเฉพาะหนอนกออ้อย ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะเข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพได้
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- อากาศร้อนและมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย และไรต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- อากาศร้อนสลับกับมีฝนตก ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและเพลี้ยในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ระหว่างวันที่ 2-8 เมษายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและปลายช่วงส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือกับบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือในระยะกลางช่วง ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นในระยะกลางช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมทะเลอันดามันในระยะต้นช่วง ประกอบกับในระยะปลายช่วง มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะต้นช่วงกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและระยะปลายช่วงมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 5 และ 6 เม.ย. กับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดน่านและพิจิตรในวันที่ 2 และ 3 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงราย อุตรดิตถ์ ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ในวันที่ 3 เม.ย. บริเวณจังหวัดพะเยาในวันที่ 3 และ 4 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่และนครสวรรค์ในวันที่ 3 และ 5 เม.ย. บริเวณจังหวัดตากในวันที่ 3 และ 6 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 2 เม.ย. จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 4 เม.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายแห่งและหนักมากบางพื้นที่ โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุดรธานีและสกลนครในวันที่ 2 เม.ย. บริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูและสุรินทร์ในวันที่ 2 และ 4 เม.ย. บริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 3 เม.ย. บริเวณจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และอุบลราชธานีในวันที่ 4 เม.ย. และมีรายงานฟ้าผ่าบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ในวันที่ 4 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ในระยะกลางช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4 เม.ย. กับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 3 เม.ย. บริเวณจังหวัดสิงห์บุรีในวันที่ 3 และ 4 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 3, 4 และ 6 เม.ย. และบริเวณจังหวัดอุทัยธานี สระบุรี และอ่างทองในวันที่ 4 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในระยะกลางช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 4, 6 และ 7 เม.ย. กับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 2 เม.ย. บริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 4 เม.ย. บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 4 และ 8 เม.ย. และบริเวณจังหวัดจันทบุรีในวันที่ 6 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 4 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นช่วง โดยมีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ในระยะกลางช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4-7 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวันทางตอนล่างของภาค โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในวันที่ 2, 6 และ 7 เม.ย. กับมีฝนหนักบางแห่งและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 6 เม.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตาก พิษณุโลก บุรีรัมย์ นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุงโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา