พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Monday April 19, 2021 13:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน พ.ศ.2564

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 47/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง และอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

คำเตือนในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนัก สำหรับเกษตรกรควรป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 21-25 เม.ย. 64 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรการควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ จากสภาวะอากาศดังกล่าวซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 25 เม.ย. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกในระยะนี้ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของแมลงวันทอง เนื่องจากพริกที่โดนแมลงวันทองเข้าทำลาย ส่งผลให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ อย่าให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด เพราะจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากมีฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 64 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ โดยเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันการไหลของน้ำฝนที่จะชะล้างแร่ธาตุและสารเคมีจากผิวดินลงสู่บ่อเลี้ยง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 19-21 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2564 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในวันที่ 13-15 เม.ย. อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนตกตลอดสัปดาห์ กับมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่กับมีฝนบางแห่ง ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำปางและลำพูนในวันที่ 12, 14 และ 16 เม.ย. บริเวณจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ในวันที่ 13 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา พิษณุโลก และพิจิตรในวันที่ 13, 14 และ 16 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน และสุโขทัยในวันที่ 16 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16 และ 18 เม.ย. มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 16 และ 17 เม.ย. โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 12 เม.ย. บริเวณจังหวัดร้อยเอ็ดในวันที่ 12-13 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 12-16 เม.ย. บริเวณจังหวัดบึงกาฬ หนองบัวลำภู มุกดาหาร มหาสารคาม และยโสธรในวันที่ 13 เม.ย. บริเวณจังหวัดอุดรธานี ศรีสะเกษและกาฬสินธุ์ในวันที่ 13-16 เม.ย. บริเวณจังหวัดเลย ขอนแก่น สุรินทร์ และอุบลราชธานีในวันที่ 14 และ 16 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครพนมและสกลนครในวันที่ 15 เม.ย. บริเวณจังหวัดหนองคายในวันที่ 16 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 12-14 เม.ย. บริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 12 และ 15 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 13 เม.ย. บริเวณจังหวัดลพบุรีและสิงห์บุรีในวันที่ 13-15 เม.ย. บริเวณจังหวัดอุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา และราชบุรีในวันที่ 14 เม.ย. บริเวณจังหวัดอ่างทองในวันที่ 15 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 14 เม.ย. และบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 16 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 15 เม.ย. และบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 16 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 25-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13 และ 16 เม.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก พิษณุโลก พิจิตร หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ