พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 50/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้น ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 26 เม.ย. - 1 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะ ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และ ลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 26 เม.ย. - 1 พ.ค. มีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 26 เม.ย.- 1พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันต้นโค่นล้ม และกิ่งฉีกหักเมื่อมีลมแรง รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 26 - 30 เม.ย. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 26-30 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งตรวจสอบหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอหรือดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 26 - 30 เม.ย. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 8-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 26 - 30 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 26 - 30 เม.ย. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 26 - 30 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้น โค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. 64 ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 29 เม.ย.- 2 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6 -8 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. 64 ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผักซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2564 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกตลอดสัปดาห์กับมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนตก ตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งจากอิทธิพลของลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และ อ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำพูนในวันที่ 20 และ 24 เม.ย. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 22 และ 25 เม.ย. และบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 24 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19 เม.ย. มีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 19, 22 และ 23 เม.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดขอนแก่นในวันที่ 20 เม.ย. บริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 20, 22 และ 24 เม.ย. บริเวณจังหวัดยโสธรและอุบลราชธานี ในวันที่ 21 เม.ย. และบริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 22 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสมุทรสงครามในวันที่ 19 เม.ย. บริเวณจังหวัดลพบุรีในวันที่ 20 เม.ย. บริเวณจังหวัดอ่างทองในวันที่ 23 เม.ย. บริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 24 เม.ย. และบริเวณจังหวัดสิงห์บุรีในวันที่ 25 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19 และ 23 เม.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 20 เม.ย. และบริเวณจังหวัดปัตตานีในวันที่ 23 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อน บางพื้นที่ของจังหวัดกระบี่ในวันที่ 22 เม.ย. โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมาก บางพื้นที่ในวันที่ 19 เม.ย. และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23 และ 25 เม.ย.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำพูน ตาก มุกดาหาร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา