พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Wednesday April 28, 2021 15:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 51/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดสอบเข้าหากันบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ มีลมตะวันออกพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

คำเตือนในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. พายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง โดยลูกเห็บตกและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 3-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 เม.ย.- 1 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง โดยมีลูกเห็บและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคและกระบือ ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงในที่โล้งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 เม.ย.- 1 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง โดยมีลูกเห็บและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคและกระบือ ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงในที่โล้งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

-ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 64 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผล ควรผูกยึดกิ่ง ค้ำยันลำตนของไมผลใหมั่นคงแข็งแรง เพื่อปองกันกิ่งฉีกหัก ตนโคนลม เมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคผลเน่าในไม้ผล

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 28-30 เม.ย. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 28-30 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 28-30 เม.ย. 64 ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 เม.ย. 64 ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเสริมขอบบ่อให้มั่นคงแข็งแรง และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 21-27 เมษายน 2564 มีรายานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ ยโสธร ลพบุรี นราธิวาส และภูเก็ต ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ