พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Wednesday May 5, 2021 15:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 54/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับ จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้บางแห่ง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ค. 64 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองลดลงแต่ยังคงมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่า กับมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับบริเวณภาคเหนือควรและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากน้ำไหลหลากไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกและมีฝนตกหนัก บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ค. 64 อากาศร้อนในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสะสมในแปลงปลูก เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดทำแผงกำบังฝนสาด และดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ค. 64 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรจัดทำแปลงปลูกให้หันหัวแปลงไปตามทิศทางลม เพื่อให้ลมพัดผ่าน ลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก ป้องกันโรคพืชจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ค. 64 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง ส่วนผู้ที่เตรียมดินสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝนควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำได้ดี เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแล ซ่อมแซม หลังคาโรงเรือน และแผงกำบังฝนสาดอย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์ เปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. 64 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ค. 64 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและบริเวณโคนต้นพืชนาน ส่งผลให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2564 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สกลนคร มุกดาหาร นครราชสีมา อุทัยธานี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก พิจิตร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ