พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 พฤษภาคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Friday May 7, 2021 14:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 พฤษภาคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 55/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออก ที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อยในระยะนี้ ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 8-13 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-13 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยจะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผัก เช่น โรคใบจุดในผัก เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ จึงค่อยลงมือปลูก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยจะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนเกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานและต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ จึงค่อยลงมือปลูก

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-13 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย เช่น หนอนกออ้อยในอ้อย เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรสำรวจหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานและต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ และดินมีความชื้นเพียงพอ จึงค่อยลงมือปลูก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-13 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-13 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • เนื่องจากฝนที่ตกในระยะนี้ยังไม่สม่ำเสมอ ชาวสวนมะพร้าวควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของด้วงแรดในมะพร้าวไว้ด้วย โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะเข้ากัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าวและทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเสริมขอบบ่อให้มั่นคงแข็นแรงและควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกันเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2564 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในระยะต้นช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะปลายช่วง กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบนในระยะดังกล่าว ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นในระยะต้นและปลายช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่และมีพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดช่วง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 3 และ 4 พ.ค. มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 1 พ.ค. บริเวณจังหวัดลำพูนในวันที่ 1, 2 และ 5 พ.ค. บริเวณจังหวัดเชียงใหม่และลำปางในวันที่ 1, 3 และ 5 พ.ค. บริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 2 พ.ค. บริเวณจังหวัดเชียงรายและพะเยาในวันที่ 3 พ.ค. บริเวณจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลกในวันที่ 4 พ.ค. และบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 6 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. กับมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันที่ 2 และ 6 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 3, 4 และ 6 พ.ค. มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 1 และ 5 พ.ค. โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 30 เม.ย. บริเวณจังหวัดมุกดาหารในวันที่ 1 พ.ค. บริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและสุรินทร์ในวันที่ 1, 2 และ 4 พ.ค. บริเวณจังหวัดชัยภูมิและยโสธรในวันที่ 2 และ 4 พ.ค. บริเวณจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานีในวันที่ 2 และ 5 พ.ค. บริเวณจังหวัดขอนแก่นและบุรีรัมย์ในวันที่ 4 พ.ค. บริเวณจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ และนครราชสีมาในวันที่ 5 พ.ค. และบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ดในวันที่ 6 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในช่วงวันที่ 2-5 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 1 และ 3 พ.ค. มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่ 2 พ.ค. บริเวณจังหวัดลพบุรีและอ่างทองในวันที่ 2 และ 4 พ.ค. บริเวณจังหวัดสิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และราชบุรีในวันที่ 4 พ.ค. บริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 4 และ 5 พ.ค. บริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 5 พ.ค. และบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 6 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 2-5 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 25-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของช่วงและในระยะปลายช่วงมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 2 พ.ค. บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 2, 4 และ 6 พ.ค. บริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 5 พ.ค. และบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง และตราดในวันที่ 6 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 1 และ 3 พ.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในสุดท้ายของช่วง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 2 พ.ค. และบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และนครศรีธรรมราชในวันที่ 6 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะกลางช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 เม.ย., 2 และ 6 พ.ค. มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง

ช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ชัยภูมิ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สงขลา และยะลา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ