พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 57/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12 - 14 พ.ค. 64 แนวสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 พ.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 12 -14 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 พ.ค. จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรเก็บของขึ้นสู่ที่สูง และผูกยึดอุปกรณ์เครื่องใช้ ให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำพัดพา
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 12 - 15 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 -70 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่ง ของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 12 - 14 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะพืชตระกูลแตง เช่น แตงโม แคนตาลูป แตงร้าน และแตงกวา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นตายและผลผลิตเสียหาย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 12 - 15 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ โล่งแจ้งและไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 12 - 14 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น ต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 14 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12 - 14 พ.ค. 64 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 15 - 18 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- สำหรับระยะนี้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใบยางร่วงลูกยางเน่าใน โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2564 ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ สงขลา และยะลา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี นครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา