พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 17 - 23 พฤษภาคม พ.ศ.2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 59/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือนในวันที่ 19-23 พ.ค. ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเฉพาะบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง จากนั้นจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่จะปลูกพืชในระยะนี้ ควรคลุกเมล็ดหรือแช่ท่อนพันธุ์พืชด้วยสารป้องกันเชื้อราก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากลมกระโชกแรงไว้ด้วย จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนมีมากขึ้น เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บสำรองน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะฝนทิ้งช่วง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรสำรวจซ่อมแซมหลังคาโรงเรือน กำบังฝนสาดอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอ และจะเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง
- ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่จะปลูกพืชในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดหรือแช่ท่อนพันธุ์พืชด้วยสารป้องกันเชื้อราก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง
- มีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 23 พ.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- ระยะนี้มีฝนและฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19-23 พ.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม 2564 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งและมีพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ส่วนมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง และอุตรดิตถ์ในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 11, 14 และ 15 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 10 และ 12 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 12 และ 13 พ.ค. จังหวัดพะเยาในวันที่ 12, 13 และ 15 พ.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 13 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 10 พ.ค. จังหวัดยโสธรในวันที่ 11 พ.ค. จังหวัดนครพนมในวันที่ 10 และ 15 พ.ค. จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 10, 11 และ 14 พ.ค. จังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 10, 13 และ 14 พ.ค. จังหวัดร้อยเอ็ดในวันที่ 11, 13 และ 14 พ.ค. จังหวัดสกลนครในวันที่ 12 และ 13 พ.ค. จังหวัดมุกดาหาร สุรินทร์ และหนองบัวลำภูในวันที่ 13 พ.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 14 และ 15 พ.ค. และจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 15 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ กับมีรายงานฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10, 13 และ 16 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ต่อจากนั้นมีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีรายงานฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12, 14 และ 15 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 11, 12, 15 และ 16 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสงขลาในวันที่ 11 และ 12 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12 และ 14 พ.ค. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา กำแพงเพชร เลย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา