พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 มิถุนายน พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Friday June 4, 2021 13:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 - 10 มิถุนายน พ.ศ.2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 67/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. 64 บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 5-10 พ.ค. ขอให้ประชาชนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักในบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ โดยเฉพาะหนอนเจาะลำต้นและเจาะฝักในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับไมผลที่อยูในระยะผลแกและเก็บเกี่ยว เกษตรกรไมควรกองสุมเปลือกและผลที่รวงหลนเนาเสียไวในบริเวณสวน แตควรนำไปเผาหรือฝงใหลึกนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักในบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เนื่องจากในระยะต่อไปในบางพื้นที่อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนอบอ้าวในตอนกลางวันสลับกับมีฝนตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์จำพวกยุง เหลือบ ริ้น ไร เป็นต้น ที่มารบกวนสัตวเลี้ยง เพราะจะทำใหสัตวเลี้ยงชะงักการเจริญเติบโตและบางชนิดอาจเปนพาหะนำโรคมาสูสัตวเลี้ยงได้

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 5-10 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักในบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วงขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับไมผลที่อยูในระยะผลแกและเก็บเกี่ยว เกษตรกรไมควรกองสุมเปลือกและผลที่รวงหลนเนาเสียไวในบริเวณสวน แตควรนำไปเผาหรือฝงใหลึกนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4-6 มิ.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้มีฝนและฝนตกหนักในบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางรวงลูกยางเนา โรคหนากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2564 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนในวันแรกของช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในระยะต้นช่วง จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนลดลง ส่งผลให้มีอากาศร้อนอบอ้าวหลายพื้นที่ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางแห่ง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วงกับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-55 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดลำปางในวันสุดท้ายของช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน และพะเยาในวันที่ 28 พ.ค. และจังหวัดตากในวันที่ 29 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 29 พ.ค., 2 และ 3 มิ.ย. โดยมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนทั่วไปภาคกลาง มีฝนร้อยละ 45-70 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 28, 29 และ 31 พ.ค. โดยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 2 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 2 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วงกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยยังคงมีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 28 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-65 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ในวันที่ 28 และ 30 มิ.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 28 พ.ค., 1 และ 2 มิ.ย. โดยยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาคในบางวัน

ช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเลย แลชลบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน สุโขทัย อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ