พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 7 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 68/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-13 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อย่างต่อเนื่อง คำเตือน ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 8-13 มิ.ย. ทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรครากเน่ายอดเน่าในสับปะรด สำหรับในพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรรักษาบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้สะอาด ดูแลให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 8-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8-13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ และมังคุด นอกจากนี้ควรเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณและการกระจายของเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคกลางและภาคเหนือในวันที่ 2 และ 3 มิ.ย.ตามลำดับ ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 3 มิ.ย. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 3 มิ.ย. จังหวัดพะเยา แพร่ และลำปางในวันที่ 4 มิ.ย. จังหวัดพิจิตรในวันที่ 6 มิ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 4 มิ.ย. และจังหวัดตากในวันที่ 6 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีอากาศร้อนทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสกลนคร อุดรธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และนครราชสีมาในวันที่ 4 และ 5 มิ.ย. บริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีในวันที่ 5 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 2 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 2 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยยังคงมีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 5 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดระนอง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร กาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา