พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 14 - 20 มิถุนายน พ.ศ.2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 71/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน / และประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนเกิดขึ้น แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. ขอให้ประชาชนในภาคเหนือ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง
- ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยหลังคาอย่าให้มีรอยรั่วซึม สามารถป้องกันฝน ลม และละอองฝนได้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 6-8 ชั่วโมง
- ในระยะนี้มีฝนตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง
- ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไมควรปลอยใหน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบอโดยตรง เพื่อปองกันสัตวน้ำปรับตัวไมทัน ออนแอและเปนโรคไดงาย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- ในระยะนี้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วงขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 18 - 20 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง
- ทางฝั่งตะวันออกของภาค มีฝนตกและหยุดสลับกับ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผัก ส่วนทางฝั่งตะวันตกของภาค จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางรวงลูกยางเน่า โรคหนากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันทึ่ 7-13 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์ร่องมรสุมดังกล่าวได้พาดเข้าสู่พายุโซนร้อน "โคะงุมะ (KOGUMA, 2104)" ซึ่งก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนแล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 11 มิ.ย. จากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือ และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคะงุมะ" บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 12 มิ.ย. ก่อนที่จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองธานห์โฮ ประเทศเวียดนามในช่วงเช้าของวันที่ 13 มิ.ย. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน โดยในช่วงค่ำของวันเดียวกันพายุนี้มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ประมาณ 140 กิโลเมตร ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 45-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8, 9 และ 13 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 9 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 10 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8, 9 และ 13 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 9 และ 11 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 7, 10 และ 12 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปัตตานีในวันที่ 9 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 11 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในระยะต้นสัปดาห์มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 9 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 8, 11 และ 12 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 11 มิ.ย.
ช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน อุดรธานี สกลนคร นครพนม ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ลพบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา