พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 16 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 72/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังและป้องกันหนอนใยผักในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาดขาวปลี กะหล่ำดอก และผักกาดเขียวปลี สำหรับในพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผลและพืชผัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 16-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคใบจุดสีดำในถั่วลิสง สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรรักษาบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้สะอาด ดูแลพื้นที่ให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 17-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 16-19 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เช่น ทุเรียน ลองกอง และมะม่วง นอกจากนี้ควรเก็บเศษซากพืชต่างๆ แล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยหรือหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2564 ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน สกลนคร นครพนม ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา ลำปาง แพร่ พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา