พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 18 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 73/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดน้อยลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 18 - 20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับสภาพอากาศที่มีฝนตกและหยุดตกสลับกัน ประกอบกับมีแสงแดดจัดในบางวัน เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบจุดสนิมในกาแฟ ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาลและจะขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ใบเหลือง หลุดร่วง จนต้นทรุดโทรมและให้ผลผลิตลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 18 - 21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับในช่วงที่มีฝนตกชุก อากาศจะมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุดสีดำและใบจุดสีน้ำตาลในถั่วลิสง ซึ่งโรคดังกล่าวทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ ใบไหม้ และใบร่วงก่อนกำหนด
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 18 - 20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้สำหรับการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย โดยเฉพาะในระยะปลายเดือนนี้และต้นเดือนหน้าอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนเจาะดอกในมะลิ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 20 - 24 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18 - 20 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-5 ชม. องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย เป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 18 - 20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 20 - 24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันที่ 11 - 17 มิถุนายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 11 มิ.ย. จากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือ และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคะงุมะ (KOGUMA, 2104)" บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 12 มิ.ย. ก่อนที่จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองธานห์โฮ ประเทศเวียดนามในช่วงเช้าของวันที่ 13 มิ.ย. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงค่ำ โดยในช่วงเช้ามืดของวันที่ 14 มิ.ย. พายุนี้ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศลาวตอนบนและเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณตอนบนของภาคเหนือในวันเดียวกัน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยพาดเข้าสู่พายุโซนร้อน "โคะงุมะ (KOGUMA, 2104)"ในวันที่ 13 มิ.ย. ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะครึ่งแรกของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในระยะต้นช่วงและวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 40-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 11, 13, 14 และ 16 มิ.ย. และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 13 มิ.ย. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 16 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายช่วง ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในระยะต้นช่วงและวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 11, 14 และ 15 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-95 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12 และ 17 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 11 และ 13 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 70-75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 11 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดพัทลุงในวันที่ 16 และ 17 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 11 มิ.ย. และบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 11 และ 12 มิ.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน และนครพนม ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา