พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 23 - 29 มิถุนายน พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Wednesday June 23, 2021 14:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 23 - 29 มิถุนายน พ.ศ.2564

ออกประกาศวันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 75/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. 64 มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

คำเตือนในช่วงวันที่ 23-29 พ.ค. ขอให้ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 6-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ปริมาณและการกระจายของฝนมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบจุดสีดำในถั่วลิสง เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากในช่วงปลายเดือนนี้อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะดอกมะลิ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในระยะนี้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วงขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับไมผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแลว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูต้น โดยตัดแตงกิ่ง ขั้วผล แลวทาแผลรอยตัดดวยสารปองกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ย เพื่อให้ไมผลฟื้นตัวไดเร็วขึ้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-27 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 23-27 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 มิ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางรวงลูกยางเนา โรคหนากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เปนตน

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 23-29 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 16-22 มิถุนายน 2564 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสงขลา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก สุโขทัย หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ