พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 77/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 4 ก.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักได้บางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับเกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบจุดสนิมในกาแฟ ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาลและจะขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ใบเหลือง หลุดร่วง จนต้นทรุดโทรม และให้ผลผลิตลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 28 - 30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุดสีดำและใบจุดสีน้ำตาลในถั่วลิสง ซึ่งโรคดังกล่าวทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ ใบไหม้ และใบร่วงก่อนกำหนด
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 4-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนเจาะดอกในมะลิ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินดอกตูมของมะลิทำให้ดอกเสียหาย สำหรับต้นที่ยังไม่ให้ดอก หนอนดังกล่าวจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนแทน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและเฝ้าระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลแล้วทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดงหรือสารป้องกัน เชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัว
ภาคใต้
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 21 - 27 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งถึงกระจาย โดยเฉพาะในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนเพิ่มขึ้นเกือบทั่วไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่วนภาคใต้มีฝนตก ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคซึ่งจะมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 23, 24 และ 27 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ กับมีรายงานลม กระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ดในวันที่ 23 มิ.ย. จังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 23 และ 27 มิ.ย. และจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 26 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนัก บางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 22 และ 23 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 23 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี สงขลา พังงา และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่นนครราชสีมา บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส ระนอง กระบี่ และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา