พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Friday July 2, 2021 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 79/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าว/ ไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนัก และลมกระโชกแรงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2- 4 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนมีเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคผักเน่าเละในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนสหรือโรคกุ้งแห้งในพืชตระกูลพริก เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรดูแลซอมแซมโรงเรือนใหแข็งแรง หลังคาไมรั่วซึม และแผงกำบังฝนสาดให้อยูในสภาพใชงานได้ตามปกติ เพื่อปองกันสัตวเปยกฝนจนอ่อนแอและจะเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานของแสงแดด 5-8 ชั่วโมง

  • สำหรับที่ฝนยังตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะผลส้มโอ้ และหนอนเจาะดอกมะลิ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกชิเจนให้แก่น้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วงขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตวน้ำในบอเลี้ยงไมควรปลอยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบอโดยตรง เพื่อปองกันน้ำแยกชั้น ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไมทัน ออนแอและเปนโรคไดงาย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 6-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 64 ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ทางฝั่งตะวันออกของภาค เนื่องจากฝนที่ตกยังไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนทางฝั่งตะวันตกของภาค มีฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันที่ 4-8 ก.ค. และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วงขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและปองกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและไม้ผลไว้ด้วย
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 25 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบนเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีการกระจายและปริมาณของฝนเพิ่มขึ้นในระยะกลางและปลายช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 25, 26 และ 29 มิ.ย.มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง มีรายงานฝนทิ้งช่วงต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบางพื้นที่บริเวณจังหวัดตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27 และ 28 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 27 และ 28 มิ.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 26 และ 27 มิ.ย. และจังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 27 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27, 28 มิ.ย. และ 1 ก.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 29 มิ.ย. ละ 1 ก.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 28-30 มิ.ย. และฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 27, 28, 30 มิ.ย. และ 1 ก.ค. และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 28 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 25 และ 28 มิ.ย. และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 28 มิ.ย.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครพนม ขอนแก่น อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร นครนายก ปัตตานี และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย น่าน สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส ระนอง และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ