พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 81/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตั้งเกี๋ย ประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนลดลง แต่ยังคงตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-4 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกหนักในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคเน่าเละในผักที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดจุดฉ่ำน้ำเล็กๆบนใบหรือลำต้น ลุกลามทำให้เนื้อเยื่อพืชบริเวณนั้นยุบตัวลง มีเมือกเยิ้มออกมาและมีกลิ่นเหม็น จนต้นพืชเน่าและตาย โรคดังกล่าวสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช ทั้งที่อยู่ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้งในพริก ซึ่งมักพบเป็นจุดช้ำบนผลพริกที่เริ่มสุก ลุกลามจนทำให้ผลเน่า โค้งงอ บิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงก่อนเก็บเกี่ยว ส่วนฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง ส่วนฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนเจาะดอกในมะลิ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินดอกตูมของมะลิทำให้ดอกเสียหาย สำหรับต้นที่ยังไม่ออกดอก หนอนดังกล่าวจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 7 - 8 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 9 - 13 ก.ค. ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-4 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและเฝ้าระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่งระยะนี้ อ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ภาคใต้
ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 - 8 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ในช่วงวันที่ 9 - 13 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อนึ่งระยะนี้ บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2564 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน สุโขทัย มุกดาหาร ยโสธร กรุงเทพมหานคร ตราด ระนอง พังงา และตรัง ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี นนทบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา