พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Friday July 30, 2021 13:33 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 91/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 30 ก.ค.- 1 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และ/ อ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตั่งเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. - 1 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 3-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการนำสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในบริเวณใกล้ลำธาร เนื่องจากอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. - 1 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. - 1 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ศัตรูพืชดังกลาวจะกัดกินสวนที่ออนของพืช ทำใหผลผลิตลดลง และดอยคุณภาพได้ ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอ และจะเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. - 1 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ในบริเวณที่มีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคดอกสนิม หรือจุดสนิมในกล้วยไม้ และโรคดอกเน่าในดาวเรือง เป็นต้น สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อยหรือมีฝนตกและหยุดสลับกันเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ และพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับเกษตกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-970 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาคเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางรวงลูกยางเนา โรคหนากรีดยางในยางพารา เป็นต้น อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 23-28 กรกฎาคม 2564 พายุดีเปรสชันที่อ่อนกำลังลงจากพายุโซนร้อน "เจิมปากา (CEMPAKA (2107))" ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในวันแรกของช่วง จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในวันที่ 26 ก.ค. และได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาว และประเทศเวียดนามตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดที่ปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดช่วง เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 55-75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 25, 26 และ 28 ก.ค. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 24 ก.ค. จังหวัดพิษณุโลกในและตากในวันที่ 26 ก.ค. กับมีรายงานดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 27 ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 24 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยเฉพาะในวันที่ 24 ก.ค. มีฝนหนักหลายพื้นที่และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเลยและกาฬสินธุ์ในวันที่ 24 ก.ค. และจังหวัดยโสธรและอุบลราชธานีในวันที่ 25 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 25 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 24 ก.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตราดและปราจีนบุรีในวันที่ 24 ก.ค. และจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 25 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปัตตานีในวันที่ 23 ก.ค. จังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 26 ก.ค. และจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 29 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในวันแรกและในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่

ช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก มุกดาหาร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ปราจีนบุรี ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน พิษณุโลก เลย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี เพชรบุรี ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ