พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 สิงหาคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Monday August 9, 2021 14:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 สิงหาคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 95/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 9-12 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย / และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 9-12 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานของแสงแดด 3-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 9-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ โค และกระบือ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 9-12 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับเกษตรกรที่ทำนาข้าวควรระวังและปองกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใชตาขายดักบริเวณทางไหลของน้ำเขาแปลงนา และจับหอยไปทำลาย เพื่อป้องกันไม่ให้หอยเชอรี่ทำลายต้นข้าว

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 9-12 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับเกษตกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้าแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้า

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-12 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานของแสงแดด 5-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน และไม้ผล เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหนากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 2-8 สิงหาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาว และประเทศเวียดนามตอนบนในระยะดังกล่าว โดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนน้อยกว่าพื้นที่อื่น ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค อนึ่ง พายุโซนร้อน "ลูปิต (LUPIT (2109))"ที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในวันที่ 3 ส.ค. และเป็นพายุโซนร้อน "ลูปิต (LUPIT (2109))" ในช่วงเช้าของวันที่ 4 ส.ค. โดยพายุนี้ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ ผ่านเกาะไต้หวันในวันที่ 7 ส.ค. แล้วเคลื่อนห่างออกไปเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ซึ่งพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 2 ส.ค.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 3 และ 5 ส.ค.

ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 6 ส.ค. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 7 ส.ค.

ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาสในวันสุดท้ายของสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 3 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 2 และ 6 ส.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 2 ส.ค.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย น่าน ตาก นครพนม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร นครนายก สระแก้ว ชุมพร สุราษฏร์ธานี และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ