พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 กันยายน พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Wednesday September 15, 2021 13:27 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 กันยายน พ.ศ.2564

ออกประกาศวันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 112/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. 64 ร่องมรสุมพาดภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้เข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. และ 20-21 ก.ย. ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 17-21 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เชน โรคราสนิมในกาแฟ โรครากเนาโคนเนาในพริก โรคใบจุดในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูแปลงปลูกและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15 และ 20-21 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • เนื่องจากมีฝนที่ตกชุกต่อเนื่องในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เชน โรคโคนเน่า-หัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคสแคปในองุ่น เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรงได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค และกระบือ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15-16 และ 21 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 2-6 ชั่วโมง

  • ในช่วงที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ และไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังแปลงปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำใหรากพืชเนา ตนพืชตายได้ สำหรับฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ได้ เช่น โรคใบจุดในผักสลัด โรครากเน่า โคนเน่า และผลเน่าในพริก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 15-16 และ 20-21 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เช่น โรครากเน่าโคเน่าในไม้ผล และโรคหนากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง เพื่อป้องกันน้าแยกชั้น และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 15 - 16 และ 20 - 21 ก.ย. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 16-21 ก.ย. 64 ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับบริเวณที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน ไม้ผล เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในลองกอง โรคหนากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น

อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือ และชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 8 - 14 กันยายน 2564 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ระนอง พังงา ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ