พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 1 ? 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 119/64
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1 ? 4 ต.ค. 64 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 5 ? 7 ต.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5 ? 7 ต.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ
คำเตือน ในช่วงวันที่ 5 ? 7 ต.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรที่อยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- สำหรับระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงครึ่งหลังของเดือนนี้จะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันลมหนาวและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นาน ส่วนทางตอนล่างของภาคที่มีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- สำหรับระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ รวมทั้งระวังป้องกันโรคหลังน้ำลด เช่น น้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ส่วนในช่วงครึ่งหลังของเดือนนี้เป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันลมหนาวและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเอาไว้ด้วย อนึ่ง ฝนที่ตกในช่วงที่ผ่านมาทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชนาน เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ ส่วนฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรครากเน่าในพริกไทย โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 6 - 7 ต.ค. 64 มีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 %
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยาง โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคราสีชมพูในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ โรครากน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก อนึ่ง ระยะต่อไปภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรเตรียมขุดลอก คูคลอง ทางระบายน้ำ ตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำ เพื่อให้น้ำระบายได้สะดวกเมื่อมีฝนตกหนัก
ระหว่างวันที่ 24 - 29 กันยายาน 2564 พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่ (DIANMU, 2115)" ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางนาม ประเทศเวียดนามในช่วงเช้ามืดของวันที่ 24 ก.ย. จากนั้นได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวพร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดมุกดาหารในช่วงค่ำของวันเดียวกัน พายุลูกนี้ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณจังหวัดขอนแก่นในช่วงเช้ามืดของวันที่ 25 ก.ย. และปกคลุมอยู่บริเวณภาคกลางในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย. นอกจากนี้ มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะครึ่งแรกของช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง โดยมีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยในระยะดังกล่าว ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วง และมีรายงาน น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลง อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย และพิจิตร กับมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 24 ก.ย. จังหวัดลำพูนในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ย. จังหวัดลำปางในวันที่ 25 ก.ย. จังหวัดพิษณุโลกในช่วงวันที่ 26-30 ก.ย. จังหวัดเพชรบูรณ์และกำแพงเพชรในช่วงวันที่ 27-30 ก.ย. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 24 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานีในช่วงวันที่ 25 - 30 ก.ย. จังหวัดเลยในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย. จังหวัดศรีสะเกษในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ดและสกลนครในวันที่ 24 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยเฉพาะในวันที่ 25 ก.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท และสิงห์บุรีในช่วงวันที่ 24 - 30 ก.ย. และจังหวัดลพบุรี อุทัยธานี อ่างทอง และสุพรรณบุรีในช่วงวันที่ 26-30 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอ่างทองในวันที่ 24 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30-65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะต้นช่วง กับมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดสระแก้วในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย. และจังหวัดจันทบุรีในช่วงวันที่ 27-28 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่เว้นแต่ในวันที่ 24, 28 และ 29 ก.ย. มีฝนร้อยละ 40-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 24 และ 30 ก.ย. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี ตราด นราธิวาส ระนอง พังงา และกระบี่ ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา