พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 ตุลาคม พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Monday October 4, 2021 15:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 - 10 ตุลาคม พ.ศ.2564

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 120/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4-5 และ 8-9 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับในช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศแปรปรวน มีความชื้นสูง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค.จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากน้ำลดระดับลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูแปลงปลูก อย่าปล่อยให้น้ำท่วมขังโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากเน่า ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเปนตองเดินลุยน้าควรสวมรองเทาบูททุกครั้งเพื่อปองกัน โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-10 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. 64 มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานของแสงแดด 2-5 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 5-10 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเตรียมพื้นที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงรวมถึงเครื่องมือทางการเกษตรไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง เพื่อลดความสูญเสีย นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5-10 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานของแสงแดด 2-5 ชั่วโมง

  • ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เช่น โรครากเน่าโคเน่าในไม้ผล และโรคหนากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5-10 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานของแสงแดด 3-6 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 5-10 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 4-7 ชั่วโมง

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน ไม้ผล เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในลองกอง โรคหนากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น สำหรับเกษตกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง เพื่อป้องกันน้าแยกชั้น และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 27 กันยายน - 3 ตุลาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ กับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณดัวกล่าวในช่วงวันที่ 29-30 ก.ย. และมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันสุดท้ายชองสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาในวันแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลงจากช่วงที่ผ่านมา สำหรับภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะต้นและกลางสัปดาห์ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 27 ก.ย. และ 3 ต.ค. และมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 1 ต.ค. โดยมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลก กับมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 27-30 ก.ย. และจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 27 ก.ย.-3 ต.ค.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์และในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 2 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และอุบลราชธานี กับมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเลยและศรีสะเกษในวันที่ 27-28 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ก.ย. และ 1 ต.ค. มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี

ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 2 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระแก้วและจันทบุรีในวันที่ 27-28 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ก.ย., 2 และ 3 ต.ค. มีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย อุบลราชธานี ลพบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สระแก้ว ตราด และพัทลุง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ