พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Wednesday October 20, 2021 15:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 127/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 21-22 ต.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเล/ จีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ต.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดน้อยลง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ขอใประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้าท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน สำหรับทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้าเอาไว้เพื่อจะมีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอและหนอนกระทู้ในข้าวนาปี อ้อย และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวสภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน สำหรับพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคตาแดง น้ำกัดเท้า และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกสภาพอากาศจะชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าวนาปี โรคหัวเน่าในมันสัมปะหลัง โรคเหี่ยวเน่าแดงในอ้อย เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก ทาให้ดินและอากาศชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคแอนแทรกโนสในพืชสวนและไม้ดอก ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ต.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มและมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงลูกยางร่วงในยางพารา เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันสภาพน้ำเปลี่ยนและไม่ให้น้ำแยกชั้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ากว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพือป้องกันน้ำแยกชั้น ส่วนทางฝั่งตะวันออกของภาคระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช รวมทั้งขุดลอกสันดอนปากแม่น้ำอย่าให้ติดขัดตื้นเขิน AS
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13-19 ตุลาคม 2564 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตาก เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยนาท สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ ตราด สงขลา และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส พังงา และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ