พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Friday November 5, 2021 13:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 134/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5 - 6 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียเคลื่อนที่ทางตะวันตกลงช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 11 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลงกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 7 - 11 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีสภาพอากาศแปรปรวนกับมีอุณหภูมิลดลง ขอให้เกษตรกรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงรวมทั้งให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ อนึ่งบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 5 - 6 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝน ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 9 - 11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยจะมีอากาศเย็นถึงหนาวและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน โดยในช่วงแรกจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง หลังจากนั้นจะมีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลงค่อนข้างมาก 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพและควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นถึงหนาวและมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน โดยในช่วงแรกจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง หลังจากนั้นจะมีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลงค่อนข้างมาก 3-7 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรวมทั้งให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพและควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง ส่วนพื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมขังหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6 - 8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน โดยในช่วงแรกจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง หลังจากนั้นจะมีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ระยะนี้ปริมาณและ การกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง ส่วนพื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนม้วนใบในถั่วเหลืองในระยะปลูกใหม่ ซึ่งหนอนดังกล่าวจะสร้างใยยึดใบพืชม้วนเข้าหากันแล้วอาศัยกัดกินอยู่ในห่อใบนั้นจนหมด หลังจากนั้นจะเคลื่อนย้ายไปทำลายใบอื่นจนกระจายไปทั่วทั้งแปลง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน โดยช่วงแรกจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง หลังจากนั้นจะมีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลงค่อนข้างมาก 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง ส่วนพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5 - 6 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 11 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5 - 6 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 11 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนทางตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตกต่อเนื่องซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-11 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2564 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเกือบตลอดช่วงส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก กับมีอากาศเย็นหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับบริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงจากอิทธิพลของลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดดอย โดยมีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 29 และ 31 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 29 ต.ค. และจังหวัดลำพูนในวันที่ 30 ต.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในวันแรกของช่วงและในระยะปลายช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นบางพื้นที่ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดภู โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วงกับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม หนองบัวลำภู ขอนแก่น และอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 29 ต.ค. และ 3 - 4 พ.ย. มีฝนร้อยละ 5 - 45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอ่างทองในวันที่ 30 ต.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ต.ค.-1 พ.ย. มีฝนร้อยละ 70-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของช่วงมีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 30 ต.ค. และ 3 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 30 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดช่วงโดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 29 ต.ค. และ 3 พ.ย. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 30-31 ต.ค.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เพชรบูรณ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา พังงา ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลยนครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ