พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 136/64
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีน/ แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง
คำเตือนในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ ขอให้ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 ฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. อุณหภูมิลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีหมอกบางในตอนเช้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนสในพริก โรคราน้ำค้างในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก ควรทำแผงกำบังลมหนาวและเพิ่มอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยจากอากาศที่หนาวเย็น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. 64 อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลืองที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางฝักควรเฝ้าระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนเจาะฝัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดที่อยู่ในฝัก ทำให้ผลิตเสียหายได้
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับชาวสวนผลไม้ควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ ส่วนเกษตรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเลือกชนิดสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับฤดูกาล รวมทั้งควรควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลง
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในวันที 14-16 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในวันที 14-16 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
- ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียงหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลในเรื่องของการจัดการโรงเรือนที่สามารถป้องกันฝน ลม และละอองฝนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรจัดเตรียมสถานที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง ในกรณีเกิดอุทกภัย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง สำหรับเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งขอให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 3-9 พฤศจิกายน 2564 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดราชบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน อุบลราชธานี อุทัยธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา