พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 19 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 140/64
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณ/ ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กับมีหมอกบางในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย.64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 22-25 พ.ย.64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-17 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย.64 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเข้าและมีฝนตกได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนสในสตรอว์เบอร์รี และโรคราน้ำค้างในพืชตระกลูแตง เป็นต้น สำหรับผลผลิตทางการรเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา โดยจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย.64 อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเข้าและมีฝนตกได้บางพื้นที่ เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องหมอกและน้ำค้างได้ ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา โดยจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ในช่วงอนุบาล ควรดูแลเรื่องไฟกกให้มีความอบอุ่นไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. มีฝนตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา โดยจะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. 64 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. มีฝนตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา ทำให้มีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย.64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย.64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
- ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียงหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยทะลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ระหว่างวันที่ 12-18 พฤศจิกายน 2564 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนตลอดช่วง โดยมีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนในบางพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนกลางในระยะต้นช่วง จากนั้นได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะปลายช่วง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วงโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบริเวณเทือกเขาและยอดดอย โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันแรกของช่วง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 12 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง และมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดภู โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 15 พ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู และอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่งส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบุรีในวันที่ 12-13 พ.ย. จังหวัดสุราษฏร์ธานี สงขลา และชุมพรในวันที่ 12-18 พ.ย. จังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 12-14 และ 18 พ.ย. และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 17-18 พ.ย. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 13 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 12-14 พ.ย. จังหวัดพังงาในวันที่ 13 พ.ย. และจังหวัดตรังและภูเก็ตในวันที่ 13 และ 18 พ.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดรชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย อุบลราชธานี ราชบุรี ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง ยะลา พังงา และกระบี่
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา