พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 17 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 152/64
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 17-20 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม/ ประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก จะมีอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ และภาคกลาง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส จากนั้นในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่งในบริเวณดังกล่าว
สำหรับในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. 64 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 20-22 ธ.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำจากอ่าวเบงกอลจะเคลื่อนเข้าปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 17-22 ธ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 17-18 และ 21-23 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนสในสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 22-23 ธ.ค. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 14-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย จากสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง ทำให้ปริมาณการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชหรือโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาความชื้นในดิน นอกจากนี้เกษตรกรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟในพริก เป็นต้น
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 22-23 ธ.ค. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 18-20 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็น กับมีลมแรง เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงซึ่งอยู่ในระยะออกดอกควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราแป้งและโรคราดำ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงปลาในบ่อดิน ควรหมั่นเก็บเศษอาหารที่เหลือจากบ่อ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค รวมทั้งควรควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม เพราะในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และตั้งแต่นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับบริเวณที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากนาโคนเน่าในไมผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-22 ธ.ค. บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดในการเดินเรือโดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 10-16 ธันวาคม 2564 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะกลางช่วง จากนั้นอ่อนกำลังลง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียในวันสุดท้ายของช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝน ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 10, 13 ธ.ค. และมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง หลังจากนั้นมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในบางวัน
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนรายงานตกบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีฝนหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และพังงา สำหรับปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 115.6 มิลลิเมตร ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา