พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว?งวันที่ 24 ? 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ออกประกาศวันศุกร?ที่24 ธันวาคม พ.ศ. 2564
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 155/64
การคาดหมายลักษณะอากาศในช?วงวันที่ 24 -26 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ?อนลง ทำให?บริเวณดังกล?วมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1?2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช? ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ?ยตะวันตกในระดับบนจะเคลื่อนผ?นภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน และมีลมตะวันออกเฉียงใต?พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล?งภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล?ง ทำให?บริเวณดังกล?วมีฝนหรือฝนฟ?คะนองบางแห?ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ?วไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ?อนลง ทำให?คลื่นลมบริเวณอ?วไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ?อนลง โดยบริเวณอ?วไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส?วนบริเวณที่มีฝนฟ?คะนองคลื่นสูงมากกว? 1 เมตร สำหรับภาคใต?มีฝนฟ?คะนองบางแห?ง ส?วนมากทางตอนล?งของภาค ส?วนในช?วงวันที่ 27 - 30 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค?อนข?งแรงจากประเทศจีนจะแผ?ลงมาปกคลุมปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยจะเริ่มปกคลุมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก?อน ทำให?ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีอุณหภูมิลดลง 2?5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง และจะแผ?ลงมาปกคลุมภาคเหนือ และภาคกลางในวันถัดไป ทำให?บริเวณดังกล?วมีอุณหภูมิลดลง 1?4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงส?วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ?วไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให?คลื่นลมบริเวณอ?วไทย และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณฝนฟ?คะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรสำหรับภาคใต?จะมีฝนฟ?คะนองเพิ่มขึ้น ส?วนใหญ?ทางตอนล?งของภาค
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให?แข็งแรง ส?วนเกษตรกรที่ทำกิจกรรมกลางแจ?งระมัดระวังฝนและฝนฟ?คะนองที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ในช?วงวันที่ 24 ? 26 ธ.ค. จะมีหมอกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจร อนึ่ง ในช?วงวันที่ 27 ? 30 ธ.ค. จะมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป?องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 24 - 27 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 25 - 27 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 30 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- ระยะนี้อากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน สำหรับในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจแผงกำบังลมหนาวหากชำรุดควรซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือน เพื่อให้ความอบอุ่น ป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 24 - 26 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ช่วงนี้จะมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและบางช่วงมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยเฉพาะเกษตรกรที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมแผงกำบังลมหนาวให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงตายได้ นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ฟาง ข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดินดิน
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 24 - 27 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 25 - 26 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 30 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นภายในโรงเรือนโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กซึ่งมีความต้านทานความหนาวเย็นได้น้อยกว่าสัตว์ตัวที่โตเต็มวัย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 24 - 26 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง บางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดินดิน เนื่องจากระยะนี้และต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวงแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่ความชื้นในดินมีน้อย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 24 - 26 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24 - 26 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนที่ลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนกับฝนฟ้าคะนอง ในช่วงที่มีฝน ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าและโรคหน้ากรีดยาง ในยางพารา และโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี่ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ระหว่างวันที่ 17 - 23 ธันวาคม 2564 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วงจากนั้นมีกำลังอ่อนลง นอกจากนี้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศมาเลเซียในระยะต้นช่วง กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลอันดามันตอนล่างในวันที่ 21 ธ.ค. โดยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนหนาแน่นในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง
ภาคเหนือ มีอากาศหนาวทั่วไปทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยเฉพาะในวันช่วงที่ 20-22 ธ.ค. มีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 20-21 ธ.ค. มีอากาศหนาวเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีในวันสุดท้ายของช่วง ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง
ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นช่วงและในวันสุดท้ายของช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ของจังหวัดสระแก้วในวันสุดท้ายของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสงขลาในวันที่ 17 ธ.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลาในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. จังหวัดนราธิวาสในช่วงวันที่ 17-23 ธ.ค. และจังหวัดสงขลาในช่วงวันที่ 18-19 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 20 ธ.ค. จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่
ช่วงที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พัทลุง ปัตตานี และพังงา โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 128.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา