พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 14 - 20 มกราคม พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 6/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส และบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ม.ค. 65 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตลอดช่วง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 15-18 ม.ค.65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาต่อพืชผลทางการเกษตร ไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. 65 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคพืขที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-18 ม.ค. 65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 17-18 ม.ค.65 อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ม.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 17-18 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับสภาพอากาศที่มีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยไฟพริกในพริก
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำและควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงซึ่งอยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อนควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง และติดผลน้อย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.
- อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสมและวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 14-16 ม.ค. 65 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 65 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้ทางตอนบนของภาค มีอากาศเย็นและแห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพและให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ส่วนทางตอนล่างของภาค ยังคงมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ เนื่องจากฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 7 - 13 มกราคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 11 ม.ค. ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 10 ม.ค. นอกจากนี้มีลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าหากันบริเวณภาคเหนือในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในภาคตะวันออกในระยะปลายช่วง สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนตลอดช่วง ทำให้มีฝนเล็กน้อยตลอดช่วงส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคส่วนมากในระยะต้นและกลางช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 5 ของพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 12 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันที่ 7,8 และ 10 ม.ค.
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา