พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มกราคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday January 17, 2022 15:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 17 - 23 มกราคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 7/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 18-19 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบมีลมตะวันตกพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค รวมทั้งทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังอ่อนลง คำเตือน สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในวันที่ 18-19 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 14-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีความชื้นสูงในตอนกลางคืนและตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และจะมีฝนบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ เป็นต้น นอกจากนี้ไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันการเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรให้อาหารอย่างเหมาะสม เพราะอากาศเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงสายจึงให้อาหารเพิ่มเติม สำหรับในช่วงที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรตัดแต่งทรงพุ่มไม้ผลให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสม

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรระวังเพลี้ยไฟในพริก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 10 - 16 มกราคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูง อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน นอกจากนี้มีลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าหากันบริเวณภาคเหนือตอนบนในระยะกลางสัปดาห์ กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนบริเวณภาคเหนือตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีกำลังอ่อนตลอดสัปดาห์ ทำให้มีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศหนาวในบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 15 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 5 ของพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 12 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ของจังหวัดกระบี่ในวันแรกของสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำพูนและเชียงใหม่ ปริมาณฝนมากที่สุดวัดได้ 36.8 มม. ที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 65

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ