พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 21 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 22/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศ/ ไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง โดยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
คำเตือนในช่วงวันที่ 21-27 ก.พ.65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนบริเวณภาคใต้ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. 65 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. 65 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. 65 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. 65 อากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ โดยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. 65 อากาศเย็นในตอนเช้าโดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส และมีฝนในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากในตอนเช้ามีอากาศเย็นและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดและใบอ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาอุณหภูมิดิน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 22-27 ก.พ. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะผลในไม้ผล เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะในบ่อดิน ควรควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
ภาคใต้
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 21-22 ก.พ. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้จะฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรเฝ้าระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะลำต้นในไม้ผล เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. บริเวณทะเลอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง
ระหว่างวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ 2565 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคเหนือในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคอื่น ๆ มีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับฝนในสัปดาห์นี้ได้รับอิทธิพลจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกที่เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณใกล้กับหัวเกาะสุมาตราในวันที่ 15-17 ก.พ. ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 19 ก.พ. มีอากาศเย็นบางพื้นที่ กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 15 ก.พ. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 15 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 19 ก.พ. มีอากาศเย็นบางพื้นที่ และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันที่ 15 และ 20 ก.พ. สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16 และ 20 ก.พ. มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในวันที่ 15-18 ก.พ. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 14 ก.พ. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15, 19 และ 20 ก.พ. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 14 และ 17 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 15 และ 17 ก.พ. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 16 ก.พ. และจังหวัดพัทลุงในวันที่ 17 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในวันที่ 17 ก.พ. โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 14, 18 และ 19 ก.พ. มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 15-16 ก.พ. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 19 ก.พ.
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา