พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday February 28, 2022 15:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 25/2565 ไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงการคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศ/ ใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 4 มี.ค. 65 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า ขอให้ผู้ใช้รถและถนนเพิ่มความระมัดระวังในการการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 5 มี.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 6 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนารวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 5 มี.ค. 65 อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 6 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยบางช่วงจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจร โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโตและช่วงผลิดอกออกผล

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 5 มี.ค. 65 อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 6 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 5 มี.ค. จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับรถที่ใช้งานในด้านการเกษตร หากต้องวิ่งบนถนนหลวงตอนกลางคืนควรดูแลสัญญาณไฟหน้าและไฟท้ายให้สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งระวังและป้องกันโรคราน้ำค้าง ในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 4 มี.ค. 65 มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 4 มี.ค. จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับชาวสวนมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำ โดยฉีดน้ำบริเวณใบและทรงพุ่มก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-5 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 6 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 %

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา และโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 21 - 27 กุมภาพันธ์ 2565 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว นอกจากนี้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝน สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณนอกชายฝั่งประเทศมาเลเซียได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในช่วงดังกล่าวกับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวในหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์

ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์

ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 45-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในวันที่ 24-26 ก.พ. มีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส และยะลาในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ในวันที่ 24-26 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 50-75 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่วันที่ 26 ก.พ.

ช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ