พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Wednesday March 2, 2022 13:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 2 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 26/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่กำลังค่อนข้างแรงจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเกิดในระยะต่อไป หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. 65 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 บริเวณประเทศไทยตอนบน ขอให้ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับบริเวณภาคใต้ ขอให้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก รวมทั้งอาจเกิดฟ้าผ่าได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคและกระบือ ไม่ควรปล่อยให้อยู่กลางแจ้ง ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ผักในถั่วเหลืองและถั่วเขียว เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณชายฝั่งอุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ ควรสำรวจดูแลการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโคนล้ม เมื่อมีลมแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยไฟในทุเรียนและมังคุด

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 2-4 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 มีรายงานฝนตกหนักและหนักมากในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ชุมพร สุราษฏร์ธานี พังงา และสตูล สำหรับปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 369.2 มิลลิเมตร ที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ