พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday March 4, 2022 15:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 27/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4-5 และ 9-10 มี.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะเกิดในระยะต่อไป สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 5-8 มี.ค. ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4-5 และ 9-10 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง สำหรับในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีลมกระโชกบางแรงพื้นที่ เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4-5 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4-5 และ 9-10 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 4-5 และ 9-10 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. จะมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟในทุเรียนและมังคุด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยในระยะครึ่งหลังของช่วงมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในตอนกลางวันในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ในระยะดังกล่าว สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีกำลังอ่อนลง กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในระยะต้นช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วงกับมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้า กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่บริเวณจังหวัดตากในวันที่ 2 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้า กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นและกลางช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะปลายช่วง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าในระยะครึ่งแรกของช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดตราดในวันที่ 2 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส และยะลาในระยะครึ่งแรกของช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ในระยะต้นช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าในบางวัน ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 60-75 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 25 ก.พ. และ 1 มี.ค. และมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่วันที่ 26 ก.พ.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ตราด สุราษฎร์ธานี และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ