พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday March 7, 2022 15:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 28/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตรา ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มี.ค. 65 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณ์เช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในวันที่ 7 - 8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย ทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-20 กม./ชม. และในวันที่ 12 - 13 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนอง ไม่เข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย ทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนอง ไม่เข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7 - 8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-95 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7 - 9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-95 %

  • ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น สำหรับช่วงนี้ในดินและอากาศจะมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรครากเน้าโคนเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น อนึ่ง สำหรับพื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปต่อเนื่องตั้งแต่กลางสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือในระยะปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากทางภาคกลางและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้โดยมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในระยะดังกล่าว ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์และมีเพิ่มขึ้นในระยะปลายสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีอากาศหนาวบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ในวันที่ 2, 4 และ 6 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 6 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้าในระยะต้นและกลางสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์และชัยภูมิในวันที่ 5 มี.ค. และจังหวัดสกลนครในวันที่ 6 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดตราดในวันที่ 2 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ในวันที่ 1 และ 3 มี.ค. จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 1 มี.ค. และระยะครึ่งหลังของสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลพบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี นครราชสีมา ตราด สงขลา ปัตตานี พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ