พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 14 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 31/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง สำหรับในช่วงวันที่ 15-18 มี.ค. 65 ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. 65
คำเตือน ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 15 - 17 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 มี.ค. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 15 - 17 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง หลังจากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย ทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 16 - 20 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนอง ไม่เข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 20 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 16 - 20 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนอง ไม่เข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 15 - 16 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 17 - 20 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 20 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 20 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-95 %
- ในระยะนี้ บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น สำหรับช่วงนี้ในดินและอากาศจะมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรครากเน่าโคนเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น อนึ่ง สำหรับพื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 7-13 มีนาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือในระยะปลายสัปดาห์ โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะในวันแรกของสัปดาห์มีฝนตกหนาแน่น สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในวันแรกของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ส่วนมากในระยะต้นสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากบริเวณตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ในวันที่ 7, 9, 11 และ 12 มี.ค. ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร ในวันที่ 7 มี.ค. และจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 10 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้าเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในวันที่ 7, 10 และ 11 มี.ค. และมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 10, 11 และ 13 มี.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร มหาสารคาม อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร และนครราชสีมาในวันที่ 7 มี.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 7 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันที่ 9, 10 และ 13 มี.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอ่างทองและสิงห์บุรีในวันที่ 7 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 7 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8 มี.ค. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 8 และ 13 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8 และ 13 มี.ค. มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 9 มี.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเลย ลพบุรี และสุราษฎร์ธานี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และกระบี่
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา