พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday March 18, 2022 15:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 33/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 18 - 22 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัด ปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณใกล้เกาะสุมาตรามีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น โดย คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมาและปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน ในช่วงวันที่ 19 - 24 มี.ค. ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 19 - 24 มี.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง เข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18 - 22 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี้ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียมและป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เอื้ออำนวยต่อการเกิดอัคคีภัย เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยตลอดจนโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19 - 22 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยตลอดจนโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง แม้จะมีฝนแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18 - 22 มี. ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19 - 22 มี. ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23 -24 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดิน ไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 19 - 20 มี.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว แม้จะมีฝนตกแต่บางพื้นที่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันสภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงัก การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
          ระหว่างวันที่ 11 - 17 มีนาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน         เกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดช่วง นอกจากนี้มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  ในวันที่ 15-16 มี.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ โดยมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมเกือบตลอดช่วง กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในระยะกลางช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกส่วนมากตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 25-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 11, 14 และ 17 มี.ค. จังหวัดสุโขทัยในวันที่ 12 มี.ค. จังหวัดตากในวันที่ 13 และ 15 มี.ค. จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลกในวันที่ 14 มี.ค. จังหวัดน่านในวันที่ 15 และ 16 มี.ค. จังหวัดพะเยาในวันที่ 15 และ 17 มี.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์และกำแพงเพชรในวันที่ 16 มี.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 17 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ในวันที่ 15 มี.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 15 และ 16 มี.ค. จังหวัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี และชัยภูมิในวันที่ 16 มี.ค. และจังหวัดสุรินทร์ 16 และ 17 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีและชัยนาทในวันที่ 16 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 16 มี.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 17 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 25-45 ของพื้นที่ในวันที่ 13, 14 และ 17 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14 มี.ค.

ช่วงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุดรธานี สกลนคร อุบลราชธานี และจันทบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ เลย นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา อำนาจเจริญ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ