พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม 2565 - 26 มีนาคม 2565
การคาดหมาย ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี.ค. 65 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรง ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น โดยคาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน และขึ้นชายฝั่งประเทศเมียนมา ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 65 ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคใต้
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 20 - 23 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 มี.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 20 - 24 มี. ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 26 มี.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 24 มี. ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 25 -26 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี. ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 23 -26 มี.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง
ในช่วงวันที่ 20 - 22 มี. ค. 65 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 23 -26 มี.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 -37 องศาเซลเซียส
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 20 ? 24 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 25 ? 26 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ออกประกาศ 20 มีนาคม 2565
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา