พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday March 21, 2022 15:17 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 34/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้า/ มาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 27 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. 65 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มี.ค. 65 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น โดยคาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน และขึ้นชายฝั่งประเทศเมียนมา ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 65 ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคใต้

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-24 และ 27 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 65 ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน งดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มี.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อลดการระเหยน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาความชื้นในดิน สำหรับในบางพื้นที่อาจจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำตัน ของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-24 และ 27 มี.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะโคและกระบือไม่ปล่อยให้อยู่ในที่โล่งแจง ขณะมีฝนฟ้านอง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนเจาะลำต้นและฝักในข้าวโพด

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-24 และ 27 มี. ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. 65 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เช่น หนอนเจาะฝักในข้าวโพด หนอนกระทู้ในถั่วเขียว เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-24 และ 27 มี. ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะอาจทำให้ปลาน็อคน้ำตายได้ โดยหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 มี.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 -37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. จะฝนมีเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและขาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14-20 มีนาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 15-16 มี.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ โดยมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกพัดที่ปกคลุมในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงบ่ายของวันที่ 20 มี.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีฝนตกชุกหนาแน่น

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 14 มี.ค. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 14 และ 17 มี.ค. จังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 14 และ 18 มี.ค.จังหวัดตากในวันที่ 15 มี.ค. จังหวัดน่านในวันที่ 15 และ 16 มี.ค. จังหวัดพะเยาในวันที่ 15 และ 17 มี.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์และกำแพงเพชรในวันที่ 16 มี.ค. จังหวัดลำปางในวันที่ 17 มี.ค. จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพร่ และเพชรบูรณ์ในวันที่ 18 มี.ค. และจังหวัดลำพูนในวันที่ 19 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16 และ 18 มี.ค. มีฝนร้อยละ 60-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 15-16 และ 18 มี.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ในวันที่ 15 มี.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 15 และ 16 มี.ค. จังหวัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี และชัยภูมิในวันที่ 16 มี.ค. จังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ 16 และ 17 มี.ค. จังหวัดหนองคาย ยโสธร และปราจีนบุรีในวันที่ 18 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18 และ 20 มี.ค. มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีและชัยนาทในวันที่ 16 มี.ค. จังหวัดนครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี และสระบุรีในวันที่ 18 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปัตตานีในวันที่ 20 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์และในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร นครนายก ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ชลบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ